 |
|
 |
โคลงสุภาษิตคำพังเพย ประกอบด้วย โคลงสุภาษิต ๑๑๙ โคลง ซึ่งจารึกอยู่ บนแผ่นศิลา ที่กรอบประตูและหน้าต่าง ในพระวิหาร วัดโสมนัสวิหาร. โคลงสุภาษิตเหล่านี้ มีค่าสูงทางจิตรกรรม และศิลาจารึก เกี่ยวกับคำพังเพยของไทย ซึ่งจารึกไว้ ตั้งแต่สร้างวัดนี้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๙ คือ เมื่อประมาณ ๑๕๐ ปีมาแล้ว. เท่าที่ทราบ โคลงสุภาษิตทั้งหมดนี้ ทางวัดโสมนัสวิหาร ได้คัดลอกออกมา จัดพิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว ๓ ครั้ง คือ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑, พ.ศ.๒๕๓๐ และในปี พ.ศ.๒๕๔๕. |
|
โคลงสุภาษิตเหล่านี้ มีแต่คำโคลง อยู่บนแผ่นศิลาจารึก พร้อมกับมีภาพจิตรกรรม อธิบายโคลงเหล่านี้ เป็นการอธิบายคำพังเพย ของไทยโบราณ พร้อมด้วยมีภาพประกอบ ในรูปจิตรกรรมไทย แต่ไม่ได้จารึก ชื่อคำพังเพยไว้ด้วย ทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่า โคลงสุภาษิตเหล่านี้ ขยายคำพังเพยอะไร. ฉะนั้น ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๓ จึงได้ค้นหาคำพังเพย ที่ตรงกับคำโคลงสุภาษิตมาใส่ไว้ โดยความช่วยเหลือ ของอาจารย์ภาษาไทย และความเข้าใจของข้าพเจ้า (พระสาสนโสภณ ฐิตวัณโณ) แต่ก็ไม่ถูกต้องทั้งหมด. หากท่านผู้รู้ทราบแล้ว โปรดได้ช่วยแนะนำ มาทางวัดด้วย จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง. |
|
๑. เรือล่มเมื่อจอดตาบอดเมื่อแก่ |
เรือจอดถึงแล้วล่ม |
หลุดลอย ไปเฮย |
เมื่อแก่ตาบอดพลอย |
เพิ่มเข้า |
ลาภใดหมั่นแสวงคอย |
คิดเร่ง หาแฮ |
การเริ่มกลับเสียเค้า |
เมื่อใกล้มือถึง ฯ|ะ |
|
|
|
๒. ปัดสวะให้พ้นตัว |
หินหักขว้างทุ่มทิ้ง |
โคนโพธิ์ เสียเฮย |
ผิดชั่วอ้างตนโต |
แต่ได้ |
ยศใหญ่ท่านอิศโร |
รับชั่ว เถิดพ่อ |
คิดเพื่อห่างตนไว้ |
ว่าให้พ้นตัว ฯ|ะ |
|
|
|
๓. ขนทรายเข้าวัด |
ขนทรายคิดเพื่อเกื้อ |
การบุญ |
เข้าใส่วัดมีคุณ |
ยิ่งล้น |
ทำกิจมุ่งเกื้อหนุน |
แก่แผ่น ดินเฮย |
มีแต่ชอบห่างพ้น |
ชั่วนั้นไป่มี ฯ|ะ |
|
|
|
๔. อยู่บ้านอย่าห่างไฟ |
อยู่เหย้าจงอย่าเว้น |
ว่างไฟ |
จุดก่อกองรวังไภย |
เหล่าร้าย |
หากเกิดแต่ทิศใด |
ดูแน่ ถนัดแฮ |
ไฟสว่างไม่คลับคล้าย |
เพื่อพ้นหมู่สัตรู ฯ|ะ |
|
|
|
๕. อย่าหลงสุข |
เหล้นสนุกน์ราร่ำร้อง |
เริงนัก |
ร่างไม่ทนแตกหัก |
ย่อยสิ้น |
ควรคิดหย่อนผ่อนพัก |
ตามแต่ ควรเฮย |
สุขดั่งเท่าปีกริ้น |
ย่อมน้อยอย่าหลง ฯ|ะ |
|
|
|
๖. สี่ตีนยังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง |
สัตว์มีทั้งสี่เท้า |
ขากราน |
ยังเพลี่ยงพลาดเซซาน |
ห่อนยั้ง |
นักปราชญ์เชี่ยวฉลาดชาญ |
รู้แม่น ยำเฮย |
ถามไถ่บางคาบพลั้ง |
กล่าวเพี้ยนผิดธรรม ฯ|ะ |
|
|
|
๗. บัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น |
นกมากหมู่ใหญ่น้อย |
กินปลา |
หมดไม่เหลือปักษา |
เฉี่ยวคั้น |
น้ำไม่ขุ่นปะทุมา |
ไป่ย่อย ช้ำเลย |
ลาภสิ่งหาชอบนั้น |
ห่อนร้อนฝูงชน ฯ|ะ |
|
|
|
๘. ต้นร้ายปลายดี |
ต้นคดกอบก่อสร้าง |
อกุศล มากนา |
เผลอปล่อยตามใจตน |
ไป่รู้ |
ภายหลังคอยผ่อนปรน |
เห็นชั่ว ดีเฮย |
ทำแต่ชอบเพียรสู้ |
เหนี่ยวให้ปลายตรง ฯ|ะ |
|
|
|
๙. เรือล่มในหนอง |
เรือมีทรัพย์ล่มน้ำ |
ในหนอง |
คลำร่วมหาของ |
ย่อมได้ |
ยืมกู้ซึ่งทรัพย์ปอง |
ผู้มั่น คงเอย |
เปรียบดั่งใส่หนองไว้ |
ห่อนสิ้ขาดศูนย์ ฯ|ะ |
|
|
|
๑๐. เบาช้างถีบ |
อย่าดูถูกว่าช้าง |
ถีบเบา |
ถูกแต่น้อยลงเทา |
เท่าล้ม |
ผู้เป็นใหญ่โกรธเรา |
โทษใส่ มากนอ |
อย่าหมิ่นควรกรานก้ม |
กล่าวถ้อยคำหวาน ฯ|ะ |
|
|
|
๑๑. เสาศิลาสี่ศอก |
เสาสิลาไม่สั้น |
สี่ศอก ยาวเฮย |
ทำเช่นหลักปักตอก |
แน่นพื้น |
คนโยกบ่อยๆกลอก |
กลับขะเยี่อน คลอนนา |
ผู้มั่นศีลสัจจ์สะทื้น |
หวั่นถ้อยคนหลาย ฯ|ะ |
|
|
|
๑๒. ดับไฟแต่ต้นลม |
ไฟไหม้ลมยิ่งกล้า |
กลับตลบ |
จะเร่งดับให้สงบ |
อย่างอ้าง |
ศึกแรกเริ่มเข้ารบ |
และพึ่ง โกรธแฮ |
จะกล่าวให้ละร้าง |
อย่าห้ามห่อนหาย ฯ|ะ |
|
|
|
๑๓. กระเชอก้นรั่ว |
กระเชอทลุรั่วก้น |
ป่วยการ |
ของใส่ไม่อยู่นาน |
หล่นได้ |
ภรรยาที่สาธาร |
ใจส่าย ออกเอย |
ผัวหมั่นหาทรัพย์ให้ |
ไป่เกื้อปองผลาญ ฯ|ะ |
|
|
|
๑๔. กระต่ายตื่นตูม |
ผลตาลหล่นสนั่นก้อง |
ตูมเสียง |
กระต่ายตกใจเมียง |
ตื่นเต้น |
คนขลาดหวั่นจิตต์เพียง |
พูดขู่ หลอกเฮย |
วิ่งเที่ยวหลบซ่อนเร้น |
เร่งลี้หลีกไกล ฯ|ะ |
|
|
|
๑๕. บ้าหอบฟาง |
คนบ้าเร่อร่าแท้ |
เที่ยวไป |
สติพร่องหอบฟางไคล |
อย่างบ้า |
คนโฉดเริ่มการใด |
ทำเปล่า ประโยชน์นา |
กายเหนื่อยจนเมื่อยล้า |
ห่อนได้มีผล ฯ|ะ |
|
|
|
๑๖. ตรองก่อนพูด |
ถักปลอกไว้เผื่อค้าน |
คงดี |
หัวสิ่วรัดปลอกมี |
มั่นแท้ |
กล่าวคำแบ่งวาที |
ทวนนิ่ง นึกเฮย |
ตรึกก่อนผ่อนผันแก้ |
ไป่แพ้ผ่ายหลัง ฯ|ะ |
|
|
|
๑๗. อ้อยเข้าปากช้าง |
อ้อยลำยาวยื่นให้ |
ช้างกิน แล้วนา |
จะแย่งจากปากคชินทร์ |
ไป่ได้ |
ลาภผู้ใหญ่ยศถวิล |
หวังแย่ง ท่านเฮย |
คงไม่คืนมาให้ |
แน่แท้อย่าหมาย ฯ|ะ |
|
|
|
๑๘. ผีซ้ำด้ามพลอย |
คนมีทุกข์ขุ่นข้อง |
ขัดสน |
เสียย่อยยับทรัพย์จน |
เสื่อมม้วย |
เพราะเขลาไม่รู้กล |
การล่อ ลวงนา |
โขกที่หัวตัวด้วย |
คั่งแค้นตนเอง ฯ|ะ |
|
|
|
๑๙. กินข้าวต้มกระโจมกลาง |
ข้าวต้มตักใหม่ร้อน |
ห่อนจาง |
กินอย่ากระโจมกลาง |
ผ่าวลิ้น |
ใจโลภยิ่งปล่อยวาง |
สติไป่ ตรึกเฮย |
รีบเร่งด่วนจักสิ้น |
เสื่อมค้างความหมาย ฯ|ะ |
|
|
|
๒๐. รีดเลือดปู |
หาเลือดปูห่อนได้ |
ดังคิด |
ปูไม่มีเลือดติด |
มุ่งค้น |
คนจนททรัพย์สักหนิด |
หนึ่งไป่ มีนา |
ขู่ข่มเร่งทรัพย์ได้ |
แค่นคั้นป่วยการ ฯ|ะ |
|
|
|
|
|
คัดลอกจากหนังสือ ธรรมเภรี เล่ม |
|