 |
วันมาฆบูชา
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
คือ วันที่มีการประชุม สังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก |
|
|
 |
วันวิสาขบูชา
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชา ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไป เป็นกลางเดือน ๗ |
|
|
 |
วันอัฏฐมีบูชา
ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖
เป็นวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพระเพลิง พระพุทธสรีระ ของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ ๘ วัน |
|
|
 |
วันอาสาฬหบูชา
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชา เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ ในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ
๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนา
๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้า เริ่มประกาศพระศาสนา |
|
|
 |
วันเข้าพรรษา
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรม อันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย พระองค์ได้เสด็จ ไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล. ต่อมาปรากฏว่า ในช่วงพรรษา หรือช่วงฤดูฝน ได้มีผู้ร้องขอ ต่อพระองค์ว่า ได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้า |
|
|
 |
วันออกพรรษา
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
คือ วันสิ้นสุดระยะ การจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ ประจำที่ ในฤดูฝน ซึ่งตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ |
|
|
 |
วันพระ หรือวันรักษาอุโบสถ
ตรงกับวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
คือ วันที่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาต ให้เป็นวันธัมมัสสวนะ คือ ประชุมกันให้ทาน รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และเจริญจิตตภาวนา |
|
|